รู้จักโรคเชื้อรา
โรคเชื้อรา หรือโรคเชื้อราผิวหนัง
เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะกับอากาศแบบร้อนชื้นอย่างประเทศไทยเรา
ซึ่งโรคเชื้อราผิวหนังนี้สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้กับคนหลากหลายอายุ และสามารถเกิดได้กับหลายส่วนของร่างกายของคุณ
ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราที่เกิดกับผิวหนังตามร่างกาย เชื้อราในเด็กทารก หรือแม้แต่จุดซ่อนเร้นทั้งในผู้ชาย และผู้หญิงก็มีโอกาสเกิดโรคเชื้อราผิวหนังได้เช่นกัน
ฉะนั้นการดูแลตัวเอง และสุขอนามัย รวมไปถึงการรักษาการติดเชื้อราอย่างถูกวิธี จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
ติดโรคเชื้อราได้อย่างไร
โดยอาจแสดงอาการทั้งบนผิวหนังภายนอก หรืออวัยวะภายในได้อีกด้วย โดยโรคเชื้อราที่สามารถพบได้บ่อย ๆ
กับคนไทย มักเป็นเชื้อราที่ผิวหนัง เช่น ฮ่องกงฟุต หรือโรคน้ำกัดเท้า สังคัง กลาก เกลื้อน เชื้อราที่เล็บ และเชื้อราในช่องคลอด เป็นต้น
ลักษณะอาการของการติดเชื้อราในรูปแบบต่าง ๆ
โรคเชื้อราผิวหนัง มักพบได้โดยทั่วไป และพบได้บ่อย ส่วนใหญ่เกิดที่ผิวหนังชั้นตื้น
มีอาการส่วนใหญ่คือระคายเคือง คัน บวมแดง แสบร้อนที่ผิวหนังเกิดขึ้นตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งลักษณะอาการเฉพาะอาจแตกต่างกันออกไป เช่น
- โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต จะมีอาการคัน แสบร้อน จนไปถึงเกิดแผลพุพอง และมีรอยแตกของผิวบริเวณง่ามนิ้วเท้า
- กลาก มีลักษณะเป็นวงขาว ๆ ขอบเขตชัดเจน มีอาการคัน พบได้ตามผิวหนังทั่วร่างกาย และลำตัว มักพบในนักกีฬา ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง และผู้ที่ไม่ค่อยอาบน้ำ
- เกลื้อน มีลักษณะคล้ายกับกลาก เป็นวงเรียบ สีขาว หรือสีน้ำตาล หรือสีดำ มักไม่มีอาการคัน นอกจากเหงื่อออกมาก อาจคันเล็กน้อย
- การติดเชื้อแคนดิดา มักพบบริเวณที่อับชื้น เช่น ข้อพับ ขาหนีบ รักแร้ ลักษณะเป็นผื่นแฉะ สีแดง มีอาการคัน สามารถลามได้
ทั้งยังสามารถพบได้ในช่องปากเหมือนฝ้าขาวบริเวณลิ้น โดยจะพบในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง - สังคัง ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณขาหนีบ ต้นขาด้านใน ก้น หรือที่มีความอับชื้นสูง เมื่อผิวติดเชื้อราจะมีอาการคันอย่างรุนแรง บางครั้งอาจจะมีตุ่มใส ๆ หรือเป็นผื่นแดงนูน และอาจแพร่ลามไปที่อวัยวะเพศได้
- เชื้อราในช่องคลอด มักมีอาการคันในช่องคลอด หรือ บริเวณปากช่องคลอด รู้สึกเจ็บ แสบ และมีอาการแดงบริเวณรอบ ๆ ปากช่องคลอด มีตกขาวผิดปกติ ลักษณะขาวข้นคล้ายนมบูด หรือมีกลิ่นเหม็นเหมือนคาวปลา
รักษาโรคเชื้อราได้อย่างไร
โรคเชื้อราผิวหนัง สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาทาต้านเชื้อรา ชนิดทาภายนอก ที่มีคุณสมบัติกำจัดเชื้อรา และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ในบริเวณที่เป็นได้โดยตรง
ซึ่งส่วนใหญ่จะพบได้ในรูปแบบ ครีม เจล โลชัน หรือยาเหน็บ
สำหรับการติดเชื้อราที่ศีรษะ หรือที่เล็บนั้น ต้องกินยาควบคู่ไปด้วย
ส่วนเชื้อราจากสัตว์เลี้ยง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือคลุกคลีกับสัตว์ที่เป็นเชื้อรา สำหรับตัวยาที่นิยม ถูกนำมาใช้รักษาเชื้อราผิวหนังอย่างแพร่หลาย ได้แก่
- โคลไตรมาโซล
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแคนดิดาบริเวณอวัยวะเพศหญิง และ อวัยวะเพศชายภายนอก โรคกลาก เกลื้อน โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต
โดยทายาบริเวณที่เป็นโรคบาง ๆ วันละ 2-3 ครั้ง และควรทาให้เลยบริเวณขอบที่เป็นประมาณ 1-2 เซนติเมตร
สำหรับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราบริเวณอวัยวะเพศหญิง ตัวยาโคลไตรมาโซลชนิดครีม มักนิยมใช้ร่วมกับยาในรูปแบบเหน็บช่องคลอด
เพื่อฆ่าหรือยับยั้งเชื้อราที่อาจมีบริเวณภายนอก หรือรอบช่องคลอดที่ยาชนิดเหน็บไม่สามารถออกฤทธิ์ครอบคลุมถึง และยังสามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้อีกด้วย
- ไบโฟนาโซล
ตัวยาไปโพนาโซล ในปัจจุบันมีเพียงชนิดครีม ใช้รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อ เดอร์มาโตไฟต์ ยีสต์ และเชื้อราอื่นเช่น กลากที่เท้า ที่มือ กลากที่ลำตัว
กลากที่ขาหนีบ เกลื้อน โรคน้ำกัดเท้า
และโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อแคนดิดา โดยทาบาง ๆ บริเวณผิวหนังที่เป็น และถูตัวยาให้ซึมซาบเข้าผิวหนัง วันละ 1 ครั้ง
และควรทาต่อเนื่องในช่วงเวลา 2- 4 สัปดาห์ แม้มีอาการดีขึ้น หรือเหมือนจะหายแล้วก็ตาม
เอกสารอ้างอิง