สังคัง (Jock Itch)
สังคัง หรือ โรคกลากที่บริเวณขาหนีบ เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในบ้านเรา หรือในประเทศแถบร้อนชื้น
เกิดจากเชื้อราในกลุ่ม เดอมาโทไฟต์ (Dermatophyte) มักจะเกิดบริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ ต้นขาด้านใน ก้น หรือผิวหนังที่มีความอับชื้นสูง
สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่ส่วนมากจะพบในวัยผู้ใหญ่มากกว่าวัยเด็ก ที่สำคัญพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
โรคสังคัง เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนังซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็มักเกิดจากความอับชื้นที่ผิวหนังที่มากเกินไป เช่นสวมใส่เสื้อผ้าเปียกชื้น ไม่สะอาด
สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไปหรือผิวหนังสัมผัสกับความชื้นเป็นเวลานาน จนเชื้อราเติบโตอย่างรวดเร็ว การสัมผัสโดยตรง ใช้ของร่วมกับผู้ที่เป็นโรค
หรือสัมผัสที่มีเชื้อรา ผ่านทางขนของสัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อ ก็เป็นอีกสาเหตุให้เกิดโรคได้เช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเกิดเชื้อราได้ง่าย เช่น นักกีฬา หรือคนทำงานที่เหงื่ออกมาก และปล่อยหมักหมมเป็นเวลานาน
โดยไม่เปลี่ยนเสื้อผ้า หรือชุดชั้นในใหม่ และบางส่วนเกิดจาก ปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ น้ำหนักเกิน
โรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือโรคที่ทำให้เกิดเหงื่อ และแรงเสียดสีมากกว่าคนปกติ เป็นต้น
วิธีการรักษา
สังคังสามารถรักษาให้หายขาดด้วยตัวเองที่บ้านได้ โดยการซื้อยาในกลุ่มต้านหรือฆ่าเชื้อรา หรือครีมสำหรับรักษาโรคเชื้อราผิวหนังที่มีตัวยา โครไทรมาโซล หรือมีตัวยา ไบโฟนาโซล
โดยทาผื่นให้ทั่วหลังอาบน้ำ เช้า-เย็น เป็นเวลานานประมาณ 2-4 สัปดาห์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกสุขลักษณะ เช่น ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่ติดเชื้อ
ควรให้ผิวหนังแห้งสนิทอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ผิวเปียกชื้น อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า และชุดชั้นในทุกวัน และสวมเสื้อผ้า โปร่งสบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป ระบายอากาศได้ดี เป็นต้น
สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง และไม่หายขาดหลังจากทายาแล้ว 4 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์ เพื่อดูอาการ อาจมีการขูดผิวบริเวณที่เป็น เพื่อส่องกล้องหาต้นเหตุ และวางแผนการรักษาต่อไป
การดูแลและป้องกัน
การดูแลตนเองเมื่อมีอาการ
เอกสารอ้างอิง