ส่องสรรพคุณไบโฟนาโซล ครีมยาฆ่าเชื้อราบนผิวหนัง
ใครที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับเชื้อราบนผิวหนัง หรือโรคกลากเกลื้อน และกำลังมองหายาที่จะใช้แก้อาการคันและรักษาเชื้อราบนผิวหนังอย่างมีประสิทธิภาพ คงคุ้นตากับครีมยาฆ่าเชื้อราบนผิวหนังไบโฟนาโซลกันมาบ้าง แต่อาจยังมีความลังเลสงสัยว่าควรซื้อมาใช้ดีหรือไม่ วันนี้เราจึงมีเกร็ดความรู้ว่าครีมยาฆ่าเชื้อรา แก้คันจากเชื้อรา ตัวยาไบโฟนาโซล คืออะไร? รักษาอาการอะไรได้บ้าง?
ครีมยาฆ่าเชื้อรา ไบโฟนาโซลคืออะไร? ใช้รักษาอะไรได้บ้าง?
ไบโฟนาโซล เป็นยาสำหรับใช้ภายนอกได้ทั่วทั้งร่างกายซึ่งห้ามรับประทาน เป็นตัวยาในกลุ่มที่มีสรรพคุณต้านเชื้อราที่ผิวหนัง เช่น กลาก เกลื้อน สังคัง เชื้อราที่เท้า เชื้อราที่เล็บ รวมไปถึงผื่นคันอื่น ๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อรา โดยตัวยามีสรรพคุณในการซึมเข้าสู่ผิวหนังที่ติดเชื้อได้เป็นอย่างดี
ไบโฟนาโซล มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของเชื้อรา และยังสามารถลดอาการคัน ลดอาการอักเสบ สำหรับผู้ที่มีอาการเริ่มรุนแรง เช่น มีอาการบวมแดง โดยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดีเทียบเท่าสเตียรอยด์ แม้จะไม่มีสารสเตียรอยด์ผสมก็ตาม สามารถใช้แก้เชื้อราได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเดอร์มาโตไฟต์ ยีสต์ และเชื้อราอื่น ๆ เป็นได้ทั้งครีมรักษากลากเกลื้อน ครีมทาเชื้อราที่ขาหนีบ ครีมทากลากที่ลำตัว และครีมทาเชื้อราที่เท้า รวมถึงรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อแคนดิดา และยังรักษาเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกลิ่นเท้าได้อีกด้วย
วิธีใช้ครีมยาฆ่าเชื้อรา ต้องทำอย่างไรบ้าง?
ครีมยาฆ่าเชื้อราเพื่อแก้คันจากเชื้อรา และรักษากลากเกลื้อน ในแต่ละชนิดจะมีวิธีการใช้คล้าย ๆ กัน โดยส่วนมากจะต้องทาวันละ 1-2 ครั้ง และควรทาบาง ๆ ให้ทั่วบริเวณผิวหนังที่เกิดเชื้อรา และทาบริเวณโดยรอบออกมาอีกประมาณ 2 เซนติเมตร ซึ่งระยะเวลาในการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และผลิตภัณฑ์ยาที่เลือกใช้
สำหรับการรักษาเชื้อราที่ลำตัว แขน ขา และขาหนีบ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ส่วนเชื้อราที่เท้า จะใช้เวลานานกว่าเล็กน้อย คืออยู่ที่ประมาณ 4-6 สัปดาห์ แต่หลังจากที่รอยจากเชื้อราเริ่มจางลง ควรทาต่ออีกอย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดเชื้อราให้หายสนิทเสียก่อน และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้อีก
วิธีใช้ครีมยาฆ่าเชื้อราบนผิวหนัง ไบโฟนาโซล
ข้อแนะนำในการใช้ยาไบโฟนาโซล
ครีมยาฆ่าเชื้อรา แก้คันจากเชื้อรา ตัวยาไบโฟนาโซล ไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อราทั่วไป ซึ่งมีวิธีการทาเฉพาะดังนี้
- อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดก่อนใช้ครีมทาแก้เชื้อรา และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนใช้เพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งสกปรกอื่น ๆ
- ทายาบริเวณที่เป็นโรคบาง ๆ ให้เลยบริเวณขอบที่เป็นประมาณ 1-2 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราลุกลาม
- ทาเพียงแค่วันละ 1 ครั้ง แนะนำให้เป็นตอนเย็น โดยไบโฟนาโซลเป็นตัวยาแบบทาแค่ครั้งเดียวต่อวัน ไม่ต้องทาซ้ำ ทำให้สะดวกสบายไม่ต้องพกออกไปนอกบ้าน
- หลังทายาเรียบร้อย ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนสู่อาหารในกรณีที่ใช้มือหยิบรับประทาน
- ทายาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ โดยระยะเวลาในการรักษาให้หายจะขึ้นอยู่กับโรค ความรุนแรงและบริเวณที่เป็น
- หากผิวหนังมีอาการอักเสบ บวมแดงมาก ควรปรึกษาแพทย์และรับประทานยาร่วมด้วย
ข้อควรระวังในการใช้ครีมทาแก้เชื้อรา
- หลังจากทายาหากรู้สึกแสบคัน ระคายเคือง หรือมีอาการบวม แดง หรือเกิดความผิดปกติบริเวณอื่น ๆ ควรหยุดใช้ยา และรีบไปพบแพทย์ทันที
- ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนกว่าโรคเชื้อราบนผิวหนังจะหายสนิท เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก
สำหรับใครที่กำลังมองหาครีมยาฆ่าเชื้อรา ไบโฟนาโซล มาใช้รักษาเชื้อรา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาชั้นนำทั่วประเทศ นอกจากนี้ ควรหมั่นรักษาความสะอาดของร่างกาย และใส่ใจในสุขอนามัยส่วนบุคคล เลือกเสื้อผ้าและรองเท้าที่สวมใส่สบาย ไม่ใส่เสื้อผ้าอับชื้น และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีหลังออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาทางน้ำ รวมถึงหมั่นเปลี่ยนผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนอย่างสม่ำเสมอ และไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นด้วยเท้าเปล่า เพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดโรคเชื้อราบนผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
แหล่งอ้างอิง :
1. ทำความรู้จักเชื้อราที่ผิวหนัง พร้อมวิธีรักษาให้หายขาด
สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 จาก https://www.pobpad.com/ทำความรู้จักเชื้อราที่
2. ยาทาภายนอกรักษาโรคเชื้อรา : ยารักษากลากเกลื้อน สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/549
3. คันซ้ำ ๆ จากเชื้อรา ยิ่งเกายิ่งคัน ปล่อยไว้ยิ่งลาม รักษาอย่างไร ใช้ยาอะไรถึงหาย? สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 จาก https://hd.co.th/compare-fungicide
4. Bifonazole. A review of its antimicrobial activity and therapeutic use in superficial mycoses สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 จาก https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2670516/